top of page
Search

ว่าด้วยเรื่องระฆัง

  • Writer: หนุ่ม เชียงราย
    หนุ่ม เชียงราย
  • Oct 4, 2019
  • 2 min read

ข้อมูลเบื้องต้นในการสร้างระฆังไทย

ว่าด้วยเรื่อง “ระฆัง”

มีคนกล่าวกันว่าหากสร้างระฆังชาติหน้าจะเสียงไพเราะ น่าฟัง ดังนั้นผู้เขียนบล็อคนี้หากชาติหน้ามีจริงคงเกิดมาเสียงดีกว่านักร้องทุกคนในประเทศนี้รวมกันทั้งหมดเสียอีก เนื่องจาก ตั้งแต่ปี 2535 -2540 ได้เคยทางานในโรงระฆังมาตั้งแต่เด็กพอเรียนจบก็ออกไปทามาหากินในทางอื่น แต่ด้วยล่าสุดลองหาข้อมูลเรื่องการทาระฆัง และมีผู้รู้เรื่องนี้น้อยมาก และส่วนใหญ่จะมีก็แต่โรงหล่อพระเสียมากกว่า จึงอยากให้ท่านที่สนใจอาจจะได้เป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย เผื่อเวลาคิดจัดสร้างจะได้มีข้อมูลให้กับผู้มีความประสงค์เดียวกัน

ก่อนอื่นเรามารู้จักระฆังกันก่อนนะครับ ระฆังนั้นสามารถแยก ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ระฆังตลาด

2. ระฆังจร

ระฆังตลาด คือ ระฆังที่โรงงานผลิตตามปกติเพื่อส่งร้านค้าอยู่แล้ว ซึ่งจะมีขนาดเริ่มที่ 3 กา 3 กาครึ่ง 4 กา 4 กาครึ่ง 5 กา 5 กาครึ่ง 6 กา 6 กาครึ่ง และสูงสุดอยู่ที่ 7 กา (1 กา เท่ากับ8 นิ้ว วัดรอบที่ปุ่มบริเวณที่เอาไว้ตีนั้นเอง) และวัสดุที่ใช้คือทองเหลืองเท่านั้น

ระฆังจร (ระฆังลงหิน) คือระฆังตามความหมายของชื่อคือต้องมีผู้สั่งมาไม่ผลิตประจา หรือขาจรสั่งนั้นเอง แต่ปัจจุบันร้านค้าก็สั่งอยู่เป็นประจาเพียงแต่ราคา และวัสดุแตกต่างกับระฆังตลาดกล่าวคือจะให้เห็นอัตราส่วนต่อระฆัง 1 ลูก หากแบ่งตามลักษณะของตัวระฆัง คือตั้งแต่ส่วนหูระวิง ลงมาจนถึงบัลลังก์ (หูแขวงจนถึงหัวไหล่ของระฆังตามประสาชาวบ้าน) จะหล่อด้วยทองเหลือง และถัดจากนั้นลงมาจะเป็นส่วนของทองลงหิน (สมัยก่อนจะใช้ขันลงหินนามาเผา แล้วทุบเพื่อนาไปหลอม แต่ปัจจุบันหาขัน หรือวัสดุที่เป็นลงหินได้ยาก จึงนาทองแดง มาหลอมผสมกับดีบุก โดยสัดส่วนโดยทั่วไปจะมีสูตร 5:1 แต่อาจขึ้นอยู่กับคุณภาพของทองแดง) และตามโรงงานผลิตก็จะหล่อระฆังขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 5 กาขึ้นไป เพื่อรอคาสั่งซื้ออยู่แล้ว

ด้วยสภาวการณ์ในปัจจุบันโรงระฆังจะผลิตระฆังตามความต้องการของตลาดเนื่องจากการทา สต๊อคสินค้าไว้มักจะไม่คุ้มกับต้นทุนที่ มีความผันผวนในเรื่องราคาทอง และวัสดุอื่น ๆ ที่ปัจจุบันไม่มีความเสถียร เมื่อกล่าวถึงประเภทแล้ว ก็มากล่าวถึงกรรมวิธีกัน จะเริ่มตั้งแต่การขึ้นรูปกันเลย โดยแยกเป็นสัดเป็นส่วนได้ดังนี้

หุ่น (โครงดิน) ต้องทาการหุ่นขึ้นรูปคล้ายกับระฆัง ซึ่งจะเป็นดินละเอียดคุณภาพดี จะใช้ดินที่ใช้ปันหุ่นที่ช่างปั้นใช้ แต่จะนามาทุบแช่น้า เมื่อดินละลายแล้วก็จะนามาผสมกับทรายในเครื่องโม่ เหมือน

เครื่องโม่ปูน(ผสมปูนตามงานก่อสร้าง) เมื่อได้ความเหนียวพอดีแล้วจะนามาขึ้นรูป ตามขนาดที่ต้องการ แล้วปล่อยให้ตากแดดอยู่ประมาณ 5-7 วัน แล้วล้มลงตัดดินส่วนตรงกลางให้กวง ไม่หนา หรือบางเกินไป

การกลึง จะนาหุ่นที่ได้มาขึ้นแทนกลึง สมัยก่อนจะใช้คนหมุนหนึ่งคน ช่างกลึง 1 คน ช่างระฆังส่วนใหญ่จะเป็นช่างได้ต้องได้งานกลึงเนื่องจากเป็นหัวใจหลักของระฆัง อีกอย่างหนึ่งนอกจากช่างหล่อ โดยจะมีขั้นตอนอย่างย่อคือเมื่อกลึงให้ได้ขนาดแล้ว จะนาเศษดินละเอียดนามาร่อน แล้วผสมน้าแล้วนามาลูปให้ผิวของพิมพ์ระฆังที่ได้เรียบ แล้วเมื่อพิมพ์แห่งก็ขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบ อีกครั้ง แล้วทาด้วยขี้วัวที่คั้นผสมกับดินอ่อน(ดินเหนียวละเอียด) เมื่อแห้งแล้วก็จะทาด้วยชัน ผสมขี้ผึ้ง เพื่อให้เกิดความเหนียวที่จะนาพิมพ์ขี้ผึ้งมาติด (ภาษาช่างจะเรียกสีผึ้งเนื่องจากต้องมีการผสมชันลงไปด้วยไม่ไช่ขี้ผึ้งอย่างเดียว) แล้วนาแบบไม้ที่กาหนดขนาดความหนาบางตามขนาดของระฆัง (ภาษาช่างเรียกแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์) มาแช่น้ารอการต้มสีผึ้งให้ละลายก่อน เมื่อได้สีผึ้งแล้ว ก็จะนามานวดเพื่อเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนามาบดลงที่พิมพ์แม่แบบ แล้วนามาทาบกับตัวพิมพ์ดินที่ได้ทาสีผึ้งชันไว้ ซึ่งโดยขนาดของแผ่นแบบที่ได้จะมีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. มาติดให้ครบรอบ เมื่อติดแบบจนครบแล้ว และรอให้สีผึ้งแข็งตัว ก็จะทาการกลึงอีกครั้งเพื่อให้ได้ทรงระฆังตามขนาด โดยเมื่อกลึงเสร็จก็จะเป็นตัวระฆังจริงที่จะหลอมได้ออกมา แล้วจะนาแบบสีผึ้งที่ได้พิมพ์ลายต่าง ๆ มาติดตามขนาด และลายของโรงงานที่เป็นเฉพาะตัวของแต่ละขนาด แล้วปลดระฆังออกจากราวกลึง ไปวางบนไม้รอง ส่วนใหญ่จะสูงประมาณ 10 ซ.ม. ของใครของมันเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

การประกอบตัวระฆัง เมื่อนาลงมาจากราวกลึงก็จะทาการติดปุ่ม (ที่เอาไว้ตี) โดยใช้เกียงที่แช่ไฟไว้จนแดงเพื่อเอาไว้ดาดสีผึ้งให้ติดกัน แล้วขั้นต่อมาคือนามาติดโก่ง และหูระวิง ติดนาคข้างโก่ง และกนก หรือหูนาค และติดชนวนไว้บนหูระวิง ซึ่งจะเป็นส่วนที่เอาไว้เททองลงไป และติดชนวนล่าง 2 ด้าน (ภาษาช่างเรียกกระดอหมู) เพื่อให้สีผึ้งไหลออก เมื่อประกอบจนเสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนทาพิมพ์นอก

การเข้าพิมพ์นอก จะเริ่มด้วยการทาขี้วัวคั้น ซึ่งมักจะผสมกับผงซักฟอกเพื่อให้ติดกับสีผึ่ง เมื่อแห้งแล้วก็จะทาขี้วัวที่ผสมกับดินอ่อนอีกครั้ง เมื่อแห้งแล้ว จะเป็นการเข้าดินอ่อนคือนาดินเหนียวละเอียดที่นวดกับทราย แต่จะไม่เหนียวจนเกินไปติดเข้ากับตัวพิพม์ ซึ่งจะเป็นการติดบาง ๆ (บางมาก ๆ ) เมื่อแห้งก็เข้าดินแก่ คือดินที่มีความเหนียวน้อยกว่า และเข้าดินหนากว่าเดิมประมาณ 3-4 เท่าของดินอ่อน เมื่อแห้งแล้ว ก็จะนามาเข้าลวด คือนาลวดมารัดตัวระฆังให้แน่นหนา จนเป็นการเสร็จขั้นตอน

ขั้นตอนการหล่อระฆัง จะต้องทาการเตรียมพื้นที่ที่จะนาพิมพ์ระฆังไปตั้ง (ภาษาช่างเรียกขั้นตอนนี้ว่าการขึ้น หรือทน ) คือจะทาการก่ออิฐเป็นรูปวงกลมโดยใช้ดินเหนียวเป็นตัวยึดติดตามขนาดเพื่อวางตัวพิพม์ระฆัง แล้วนาดินมาเทใส่ให้เต็มฐานที่ทาไว้ ก่อนที่จะยกพิมพ์ระฆังขึ้นตั้ง ต้องทาการกระทุ้งคอระฆังคือนาดินเหนียวไปอุดที่คอระฆังให้แน่นหนา และนาดินเหนียวทาให้ทั่วตัวพิพม์ด้านใน ยิ่งหากพิมพ์

ด้านในมีการแตกต้องนาดินเหนียวอุดให้สนิท แล้วนาทรายมายัดใส่ให้เต็ม แล้วจึงจะสามารถยกพิมพ์ระฆังขึ้นตั้งได้ แล้วจัดให้กระดอหมูไม่หันชนกันมากนักเพื่อไม่ลาบากในการรองสีผึ้งที่จะไหลออก แล้วทาการเข้าดินทับลวดจนมิด เป็นดินเหนียวผสมทรายที่ไม่เหนียวมากนัก เหตุที่การเข้าดินต้องไม่ให้เห็นลวดเนื่องจากเมื่อมีการสุมไฟให้พิมพ์สุกจะมีความร้อนมากหากไฟโดนลวดโดยตรงจะทาให้ลวดอ่อนตัว หรือกร่อน หรือลวดที่รัดละลายได้ เมื่อเข้าดินเสร็จก็ทาการปั้นรูที่จะใช้เททองลงไป (ภาษาช่างเรียกปากกระจอก) และช่องที่สีผึ้งไหลออก (ภาษาช่างเรียกหีหมู) แล้วทาการก่ออิฐให้เป็นในลักษณะเตาเผาใส่แผ่นสังกะสีเพื่อรองรับสีผึ้ง และกะลามังรองรับให้เรียบร้อย และใช้แผ่นสังกะสีปิดด้านบน (อธิบายเพิ่มเติม ระฆังจะเททองจากด้านบนมาด้านล่าง ส่วนพระจะเทจากฐานไปหัว(ฐานไปเศียร) คือเวลาจะเทพระจะตั้งหัวพระลงข้างล่าง) เมื่อจัดทาเตาพิมพ์เสร็จแล้วก็ทาการสุมเตา โดยจะเริ่มสุมไฟอ่อน ๆ เพื่อให้สีผึ้งที่เป็นแบบ ค่อย ๆ ไหลออกมา หากสุมไฟแรงมากจะทาให้สีผึ้งลุกไหม้ในพิมพ์จะทาให้พิมพ์เสียหาย หรือลายที่ทาไว้เสียหายได้ เมื่อค่อย ๆ สุมไฟจนสีผึ้งไหลออกหมดแล้ว ก็ทาการค่อย ๆ สุมไฟให้แรงขึ้น (จะมีหลักการดูสีผึ้งเพื่อเทียบกับจานวนทองที่จะใช้ด้วยการนาสีผึ้งที่ไหลออกมาชั่งน้าหนัก คืออัตราส่วน 1:10 ก.ก.) ในระหว่างที่สีผึ้งไหลออกหมดแล้ว ช่างก็จะติดเตาทองไปพร้อม ๆ กัน โดยยังไม่เป่าพัดลมหอยโข่ง โดยเตาทองส่วนใหญ่นั้นหากเป็นเตาถ่านไม่ว่าจะเป็นถ่านไม้ หรือถ่านโค้ก (ลิกไนท์อย่างดี) จะมีตั้งแต่เตาเดียว (1 เป้า ประมาณ 60-70 ก.ก.) เตาคู่ 2 เป้า เตาสี่ 4 เป้า หากเป็นเตาน้ามันเป้ามักจะมีขนาดใหญ่เป็นเตาเดียว ซึ่งในส่วนของการเทระฆังมักจะนิยมใช้เตาถ่านมากกว่า กลับมาที่เตาพิมพ์เมื่อสุมไฟได้ประมาณ 4-5 ช.ม. ช่างก็จะดูว่าพิมพ์นั้นสุกหรือยัง โดยการดูนั้นจะดูที่ปากจอกว่าข้างในขาวหรือไม่ หากด้านในปากจอกยังดาอยู่ต้องสุมไฟเพิ่ม และเมื่อพิมพ์สุกแล้วช่างก็สุมไฟเลี้ยงพิมพ์ไปเรื่อย ๆ แต่ไม่แรงนัก เนื่องจากการเทระฆังจะต่างกับการเทพระคือพระจะเทพิมพ์เย็น ส่วนระฆังเทพิมพ์ร้อน ซึ่งการเทพิมพ์เย็นโดยใช้แบบปูนพราสเตอร์ระฆังมักเสียงไม่ดัง ดังนั้นการเทระฆังจึงต้องเทพิมพ์ร้อน เมื่อพิมพ์สุก และทองได้ที่แล้ว ในส่วนของทองเหลืองจะดูที่หากมีควันสีเหลืองขาวถือว่าทองได้ที่แล้ว ซึ่งหากปิดพัดลมเตาแล้วทองจะอยู่ได้จนถึงการเททองประมาณ 30 นาที ส่วนทองแดง (ลงหิน) การจะดูทองว่าได้ที่หรือยังคือภาษาช่างเรียกว่าหน้าทองวิ่ง หรือหน้าทองใส คือต้องไม่มีความหนึดของทองเลย และเมื่อจะเททองลงหินเมื่อปิดเตาแล้วต้องถอนเป้าออกจากเตา ไม่เกิน 5 นาทีต้องเทลงพิมพ์แล้ว ไม่อย่างนั้นทองจะหนึดจนเทไม่ได้ หรือเมื่อเทลงหินนาไปแล้วเททองเหลืองตามจะไม่ติดกัน ทาให้ระฆังเสียต้องทุบทิ้งอย่างเดียว โดยมาตรฐานทั่วไปทองเหลือง 1 เป้าจะเทระฆังขนาด 6 กาได้ 1 ลูก ซึ่งทองยังเหลือ และหากเททองลงหิน 1 เป้า ทองเหลือง 1 เป้าจะได้ระฆังขนาด 5 กา หรือ 5 กาครึ่งอย่างละ 1 ลูก

การหล่อ เมื่อถอนอิฐก่อเตาออกแล้วก็จะทาการยา คือการนาดินเหนียวผสมทรายที่เหนียวพอสมควรอุดทีหีหมู (ชนวนที่สีผึ้งไหลออก) และนาดินมาทารอยแตกที่เห็นให้หมด หากเป็นระฆังจรต้องใช้อิฐปิดที่หีหมูทั้งสองข้าง แล้วนาลวดมารัดให้แน่นเพื่อป้องกันการเบ่ง (การดันตัวของทองแดง) โดยในรายละเอียดในระฆังจรนั้นยังต้องทารูผุด คือชนวนที่ติดอยู่ประมาณก่อนถึงหัวไหล่ของระฆังเพื่อเป็นการดูน้าทองลงหินเมื่อทองลงหินมาถึงแล้วก็อุดรู แล้วรีบเททองเหลืองตามจนเต็มปากกระจอก ซึ่งในการเทระฆังจรมักจะทาปากกระจอกให้ใหญ่เพื่อเททองได้สะดวก และเพื่อเป็นตัวเก็บน้าทองรอการยุบตัวลงไปด้านล่างเรียกว่าทองดูด หรืออาจต้องเติมทองหากทองดูดมาก ๆ แต่หากทองดูดมาก ๆ ผิดปกติแต่ไม่เห็นไหลออกมาแสดงว่าทองรั่วข้างในพิมพ์ ซึ่งอาจทาให้ระฆังเสียหายได้

การขัด และปรับผิวระฆังให้สวยงาม เมื่อเสร็จสิ้นการเททองแล้วโดยส่วนใหญ่ หากการเททองเป็นช่วงเย็น ๆ จะทุบพิมพ์ในตอนเช้า หรือหากเทเช้าให้ทุบเย็น ๆ ซึ่งระฆังแตกต่างกับพระคือตอนทุบพิมพ์จะไม่ใช้น้าฉีดที่พิมพ์เนื่องจากระฆังอาจร้าว หรือภาษาช่างเรียกว่าทองลั่นได้ เมื่อทุบพิมพ์ และแกะตัดลวดที่ลัดออกแล้วจนหมดก็จะขุดหลุมแล้วนาหัวระฆังทิ่มลงเพื่อยกด้านล่างขึ้นช่างเรียกปากกระจาด แล้วเทน้าใส่เพื่อให้พิมพ์ด้านในอ่อนตัว ประมาณ 15-30 นาที ก็ทาการตักน้าออก แล้วใช้ชะแลงขุดดินออกให้หมด (ช่างเรียกกะทุ้งระฆัง) โดยจุดทีต้อง

ระวังคือช่วงบัลลังก์ระฆัง ซึ่งจะเป็นจุดที่บางที่สุดของระฆัง และอาจจะเป็นช่วงรอยต่อกรณีระฆังจรที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เมื่อกะทุ้งดินออกจนหมดแล้ว ก็จะเข้าสู่การขัด ตัดฉนวน โดยช่างขัดจะทาการลงแปลงลูกลวดตีไล่ดินที่ติดอยู่ตามระฆังออก แล้วทาการลงใบจาน ต่อด้วยใบทราย เพื่อทาผิวให้เรียบตึงสวยงาม ซึ่งจะลงในจุดที่เป็นช่องที่ว่าง ๆ เมื่อลงใบทรายแล้วก็จะตีแปลงลงยาแดง ตัวแปลงจะเป็นเชือกปอกระเจาตัดเป็นท่อน ๆ แช่น้าเพื่อใช้ตียาแดง เมื่อเสร็จแล้วก็จะนาไปล้างน้า แล้วนามาลงแปลงผ้าลงยาให้เงางามต่อไป แต่หากเป็นระฆังจรต้องทาการลงนายาให้เป็นสีดาช่างเรียกรมดา สมัยก่อนใช้ควันไฟ ปัจจุบันใช้นายาเคมีกัดให้เป็นสีต่าง ๆ แต่จะเป็นโทนดา หรือสีเม็ดมะขามเป็นต้น และจะฉีดสเปรย์สีทับจนดาทั่ว

จุดแตกต่างระหว่างระฆังตลาด กับระฆังจรคือ ภายนอกระฆังจรจะมีลายน้อยเส้นแถบข้างจะไม่มีลาย แต่ก็มีบางร้านที่ไม่สุจริตจะให้โรงงานผลิตระฆังทองเหลืองแต่ใช้พิมพ์ระฆังจร ดังนั้นการดูข้อแตกต่างจะดูได้อีก 2 ลักษณะคือ 1. น้าหนักในขนาดที่เท่ากันระฆังจรจะหนักกว่าอย่างเห็นได้ชัด 2. ให้เอียงระฆังเพื่อดูด้านในของตัวระฆังจะเห็นสีด้านในที่แตกตางกันของทองสองชนิดคือทองแดงกับทองเหลือง โดยมาตรฐานระฆังจรต้องเททองแดงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งในส่วนที่เป็นตัวระฆัง ไม่รวมโก่ง และหูระวิง และเป็นธรรมดาคือระฆังจรจะมีราคาสูงกว่าระฆังตลาดมาก และเสียงของระฆังจรจะดังกังวานกว่า เสียงไพเราะมากกว่าแน่นอน

ตามที่ผมได้นามาอธิบายนี้อาจมีข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย โดยตามขั้นตอนดังกล่าวมานี้เป็นการทาระฆังของกลุ่มตระกูลบ้านช่างหล่อ ที่แยกย้ายออกมาทาโรงงานสืบสายมาจากอาจารย์งบสามีป้าภา โดยป้าภาปัจจุบันยังทาโรงหล่อระฆังอยู่ และอีกสายที่เป็นลูกศิษย์ของลุงงบคือคุณพ่อสารวม เกิดเนตร และลูกชายนายปรีชา เกิดเนตร ที่ยังทาระฆังตามแบบช่างสิบหมู่ของบ้านช่างหล่อจนถึงปัจจุบัน

หนุ่มเชียงราย......ผู้เขียน

ปล.โรงระฆังสารวม 0-2457-7284

หมายเหตุ ฟอนต์สระอำ -ำ มีปัญหาในการโฟสทำให้เห็นไม่ครบจึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ




 
 
 

Comments


ติดตาม

  • Twitter
  • LinkedIn
bottom of page